วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บล็อกส่วนตัว นางสาว ปนัสดา กับรัมย์

                                                                 ประวัติส่วนตัว

         
ชื่่อ : นางสาว ปนัสดา กับรัมย์ ชั้นม.6/6 เลขที่4 
ชื่อเล่น : เดียร์
เกิดเมื่อ : 26เมษายน 2540
อายุ  17 ปี
บิดาชื่อ : นาย ประพันธ์ กับรัมย์
มารดาชื่อ : นาง วิชุดา กับรัมย์
ที่อยู่ : 29 หมู่ 13 บ้านสำโรง ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหลวัดบุรีรัมย์ 31160
กรุ๊ปเลือด : บี
ครูที่ปรึกษา : 1.นายสิทธิยัง พรหมมา
                     2.นางสาว อรวรรณ อุไรพันธ์
อาชีพที่ใฝ่ฝัน : ทันตแพทย์,พยาบาล,ไกด์
มหาวิทยาลัยที่อยากเข้าศึกษาต่อ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิชาที่ชอบเรียน : ภาษาอังกฤษ,คอม
วิชาที่ไม่ชอบเรียน : -
งานอดิเรก : ฟังเพลง,เล่นกีฬา
สีที่ชอบ : สีเขียว
คติประจำใจ : เป้าหมายมีไว้พุ่งชน 


วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จากผักกาดหัว

                                  หัวไชเท้าตุ๋นราดหน้าหมูสับแบบจีน

เมนูนี้....มีชื่อว่า ไดกง โน๊ะ จูกะฟู โซโบโร นิ ( Daigo no chukafuu soboro ni - 大根の中華風そぼろ煮).....แปลเป็นไทยแบบง่าย ๆ ก็คือ หัวไชเท้าตุ๋นราดหน้าหมูสับแบบจีน เรามาดูความหมายของคำกันหน่อยนะคะ ไดกง ( Daigo - 大根).....หมายถึง....หัวไชเท้า
จูกะ ( Chuka - 中華).......หมายถึง...... อาหารจีน
ฟู (fuu - 風)......หมายถึง.....แบบ หรือสไตล์ (ของอาหาร)
โซโบโร (Soboro - そぼろ).....หมายถึง....พวกเนื้อสับต่าง ๆ ที่นำมาผัด
นิ ( Ni - 煮)..... หมายถึง....... การต้ม (เคี่ยว) , ตุ๋น


เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเข้าครัวผูกผ้ากันเปื้อนลงมือทำกันดีกว่าค่ะ

เครื่องปรุง.....(สำหรับ 4 คน)

ไดกง (หัวไชเท้า).......... 1/2 หัว (ปอกเปลือกแล้ว 600 กรัม)
หมูสับ............ 200 กรัม

ส่วนผสม A

กระเทียบสับละเอียด........ 2/3 ช้อนโต๊ะ ( 1 กลีบใหญ่)
ขิงแก่สับละเอียด............ 1 1/3 ช้อนโต๊ะ
ต้นหอมญี่ปุ่น สับละเอียด........ 8 ช้อนโต๊ะ (ใช้ส่วนโคนต้นสีขาว 1/2 ต้น)

ส่วนผสม B (ซอสปรุงรส)

ซอสหอยนางรม........ 1 1/3 ช้อนโต๊ะ
*ถ้าใช้ซอสน้ำมันหอยยี่ห้อของเมืองไทย ควรลดปริมาณลงสักนิด เพราะมันค่อนข้างจะเค็มกว่ายี่ห้อของทางญี่ปุ่นค่ะ
โชหยุ (ซีอิ้วญี่ปุ่น)........... 4 ช้อนโต๊ะ
เหล้าสาเก............... 4 ช้อนโต๊ะ
โทบันจัน ........2 ช้อนชา
*ถ้าไม่ทานเผ็ด ลดปริมาณลงได้ หรือถ้าชอบเผ็ดก็เพิ่มได้ค้า
น้ำตาลทราย....... 1 ช้อนโต๊ะ (เต่ามาเพิ่มเองตอนที่ตุ๋น แล้วชิมรสดู รู้สึกว่ามันไม่กลมกล่อมได้ที่)

นำส่วนผสม B (ซอสปรุงรส) ยกเว้นน้ำตาลทราย ทั้งหมดผสมให้เข้ากัน


โทบันจัน ......เป็นน้ำพริกเผาของจีน แต่มีน้ำมันน้อยมาก (ค่อนข้างแห้ง) ส่วนประกอบหลัก มี พริกแห้ง , ถั่วปากอ้า (โซระมะเมะ) ที่นึ่งสุกแล้ว ,เกลือ ฯลฯ นำมาบดรวมกันแล้วหมักทิ้งไว้เป็นเดือน เอาเป็นว่า....ซื้อแบบที่เค้าทำสำเร็จรูปเอาไว้แล้วดีกว่า เพราะถ้าให้ลงมือทำ สงสัยไม่ได้กินเป็นแน่แท้ เจ้าเนี่ย.....เป็นส่วนประกอบในอาหารญี่ปุ่นสไตล์จีนได้หลายหลายเมนู เช่น มาโบะโทฝุ (เต้าหู้ทรงเครื่อง) , มาโบะนัตทสึ (มะเขือม่วงทรงเครื่อง) , ราเม็ง , ไส้เกี๊ยวซ่า ฯลฯ นำรูปมาให้ชม มีหลากหลายยี่ห้อ และขนาด ให้เลือกซื้อค่ะ

จากที่เคยซื้อมาใช้แล้วนั้น.....ยี่ห้อ Ajinomoto "Cookdo" (รูปล่างซ้าย) ...ค่อนข้างเผ็ดน้อยกว่า ยี่ห้อ Lee Kum Kee (รูปบนซ้าย) ตอนที่ทำก็ใช้ยี่ห้อนี้ ใส่ตามสูตรค่ะ เผ็ดกำลังดีสำหรับที่บ้าน กะว่ารอให้หมดขวดนี้ก่อน จะลองไปซื้อยี่ห้อของรูปบนขวา มาชิมดูบ้างเหมือนกัน ส่วนรูปล่างขวา....เป็นเนื้อของพริกเผาตักออกมาให้ชมค่ะ



ส่วนผสมอื่น ๆ

น้ำมันงา........2 ช้อนโต๊ะ
แป้งมัน........2/3 ช้อนโต๊ะ + น้ำ 4 ช้อนโต๊ะ ละลายให้เข้ากัน (สามารถเพิ่มแป้ง หรือ ลดปริมาณน้ำได้ค่ะ)
น้ำสะอาด.......... 5 ถ้วยตวง
ต้นหอมเล็กซอยละเอียด........นิดหน่อย (สำหรับโรยหน้า)


วิธีทำ.......ไม่ได้ทำตามสูตรต้นตำหรับเสียทีเดียว ดัดแปลงจากประสพการณ์ที่เคยทำมาค่ะ

หัวไชเท้าหั่นตามขวางลูก (ทั้งเปลือก) ตามสูตรเค้าให้หั่นหนา 2 ซม. แต่กลัวว่าสุกช้า ก็เลยหั่นหนา 1.5 ซม. ใช้มีดปอกเปลือกออก หรือจะใช้ที่ปอกเปลือกผัก-ผลไม้ ปอกเปลือกทั้งลูกก่อนเลยก็ได้ แต่ผิวรอบนอกมันจะดูไม่กลมสวย และถ้าหัวไชเท้าลูกใหญ่มาก (ที่ญี่ปุ่น....บางหัวใหญ่ขนาดน่องเชียวแระค้า) จะผ่าครึ่ง หรือผ่าสี่ ก็ได้เช่นกัน จะได้ทำให้สุกได้เร็วขึ้น


หลังจากปอกเปลือกเสร็จแล้ว ก็เจียนขอบรอบนอก (ลบเหลี่ยม) ทั้ง 2 ด้าน จะทำให้ก้อนหัวไชเท้า ดูกลมมล สวยงามขึ้น

นำหัวไชเท้า ล้างน้ำให้สะอาด ใส่ลงหม้อ เติมน้ำซาวข้าว (เต่าใช้น้ำที่ 2 หรือ 3 เพราะน้ำแรกดูแล้ว ถ้าจะไม่ไหว เพราะมีทั้งฝุ่นละอองขุ่นมั๊ก ๆ) หรือน้ำธรรมดาก็ได้นะคะ กะแค่พอท่วม การต้มหัวไชเท้าก่อนนี้...จะช่วยทำให้เวลานำไปต้ม , ตุ๋น น้ำซอสจะซึมเข้าเนื้อ + สุกเร็วขึ้น (ลดเวลาในการต้ม) และช่วยลดความขื่นของหัวไชเท้าลงได้ด้วยค่ะ

ยกหม้อขึ้นตั้งไฟ ต้มประมาณ 5-6 นาที สังเกตุดูได้จาก....หัวไชเท้าจะใสขึ้น

เทใส่กระชอน พักทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ

เตรียมเครื่องปรุงทุกอย่าง

ซอยสับต้นหอมญี่ปุ่น.....แบบง่าย ๆ คือ ตัดแต่ส่วนโคนต้นสีขาว นำไปล้างน้ำให้สะอาด จับต้นหอม วางบนเขียงใช้มีดกรีดตามยาวของต้น หลาย ๆ ครั้ง แล้วค่อยซอย ประหยัดเวลาไปได้เยอะเชียวค้า ((เพื่อน ๆ หลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วนะค้า))


ส่วนผสม A ทั้งหมด ที่เตรียมซอยสับเอาไว้

เนื้อหมูสับ.....ส่วนใหญ่ที่บ้านจะซื้อเนื้อหมูสันนอก แล่เอาแต่เนื้อล้วน ๆ ส่วนมันหมู...ก็จะเก็บรวบรวมแช่แข็งเอาไว้ วันไหนจะทำ ถั่วผัดพริกขิง ก็จะนำออกมาเจียวน้ำมัน ให้เหลือแต่กากหมู วันที่ทำถ่ายรูปครั้งนี้.....ซื้อเนื้อหมูมาแพ็คหนึ่ง น้ำหนัก 200 กรัมเศษ ๆ พอแล่แล้วเหลือหมูที่นำมาสับได้แค่ 165 กรัมเองค่ะ ((ขนาดใช้ไม่เต็มสูตร....กินจนหัวไชเท้าหมดหม้อ ก็ยังเหลือหมูบานตะไทเลยแระค้า)) เพื่อน ๆ จะใช้เนื้อไก่ล้วน ๆ สับแทนก็ได้นะคะ

นำกะทะ หรือหม้อ (ใช้เทฟลอนดีที่สุด) ใส่น้ำมันงา 2 ช้อนโต๊ะ พอน้ำมันร้อน ก็ใส่หมูสับลงไปผัด

ผัดแค่พอเนื้อหมูกระจาย

ใส่ส่วนผสม A ลงไป

ผัดต่อ จนมีกลิ่นหอม

ใส่หัวไชเถ้าที่ต้มสุก เตรียมไว้

ตามด้วย...ส่วนผสม B (ซอสปรุงรส) ...อย่าเพิ่งใส่น้ำตาลทรายนะคะ

เติมน้ำสะอาด ((ตามสูตร....เค้าให้ใส่ 5 ถ้วยตวง)) แต่จากที่ใส่น้ำลงไปแล้ว กะด้วยสายตา เอาแค่พอท่วมหัวไชเท้าก็พอค่ะ เต่าเติมน้ำลงไปแค่ 3 1/2 ถ้วยตวง หลังจากน้ำซุปเดือด.....ลองชิมรสดูก่อน.....อ่อนรสอะไรก็ปรุงเพิ่มตอนนี้......เต่าชิมแล้ว มันขาดไปจิ๊ดหนึ่ง ก็เลยเพิ่ม น้ำตาลทรายลงไป 1 ช้อนโต๊ะ อึมม.....รสกล่อมกล่อมได้ที่กำลังดีเชียวค้า

ปิดฝาหม้อ ใช้ไฟกลางต้ม ประมาณ 25 นาที ถ้ามีฟองก็ชอนฟองออกทิ้งด้วยนะคะ น้ำซุปจะได้ใส

แต่วันที่ทำถ่ายรูปชุดนี้....ทำตอนบ่าย ๆ กะเอาไว้เป็นอาหารเย็น ก็เลยต้มแค่ 10 นาที ก็ปิดไฟเตา ปิดฝาหม้อทิ้งเอาไว้ (ปล่อยให้มันอุ่นระอุอยู่ในหม้อ) พอจะทานก็นำมาอุ่นต้มต่ออีกรอบ ทำให้แทบจะไม่ต้องใช้เวลาในการต้มอีกนานเลยละค้า หัวไชเท้าก็สุกนิ่มได้ที่กำลังดี

วิธีการเช็คดูว่าหัวไชเถ้านิ่มแล้วหรือยัง? ให้ใช้ไม้จิ้มฟันแทงลงไป จิ้มเบา ๆ ลงได้ ก็แสดงว่านิ่มสุกได้ที่แล้วค้า

นำแป้งมันที่ละลายน้ำ ใส่ลงไป (ไม่ได้ใส่น้ำตามสูตร)


คนเบา ๆ อย่าให้หัวไชเท้าเละ ปริมาณแป้งมัน....อาจจะต้องเพิ่ม หรือลด ขึ้นอยู่กับน้ำซุปที่เหลือในหม้อ เพื่อน ๆ กะกันเอาเองนะคะ เพียงแค่ให้น้ำซุปข้นเหนียวขนาดก๋วยเตี๋ยวราดหน้าบ้านเราก็พอค่ะ

ต้นหอม...ส่วนใบสีเขียว (ความงก) นำมาหั่นแฉลบ เพราะถ้าจะใช้แบบสด ๆ หั่นฝอยโรยหน้าตอนเสริฟ์ เจ้าตัวแสบมานไม่กิน หรือถ้ากินก็มีบ่นเป็นหมีกินผึ้งตามมาเป็นกระบุง แม่มานเลยจัดการผัดใส่ลงไปให้รู้แล้วรู้รอดเลย

ผัดต่อแค่พอต้นหอมที่ใส่ลงไปสุก ก็ตักใส่จานเสริฟ์ได้แล้ว เพื่อน ๆ จะใช้ต้นหอมเล็ก ซอยละเอียดโรยหน้า หรือจะใช้วิธีประหยัด (แบบงก...อิอิ) ของเต่าก็ได้นะค้า ก็เหลือต้นหอม...ส่วนสีเขียว ไว้หน่อย เก็บเอาไว้โรยหน้า ตักใส่จานเสริฟ์ตอนร้อน ๆ อู๊ย....อาหย่อย

เสร็จเรียบร้อย

จำหน่าย

หัวไชเท้าตุ๋นราดหน้าหมูสับแบบจีน
                                                         ขายปลีก กล่องละ   60 บาท    
                                                         ขายส่ง   กล่องละ   40 บาท
                                                        ซื้อ  10กล่องขึ้นไปรับส่วนลดทันที 5%
      ส่ง EMS  ต่างจังหวัด ของถึงประมาณ 3-4 วัน

อ้างอิง
  1.             women.kapook.com/view34601.html

  2.            writer.dek-d.com/ritabunny/story/viewlongc.php?id=472583...80
    ‎ 
    1.  www.bloggang.com/mainblog.php?id=coffeebake&month 

    2.  www.ucancookthai.com/...thai/.../content-th-lobok-pork-rib-soup.htm‎ 


    3. https://www.youtube.com/watch?v=AevCi0cUz8&feature=player_detailpage

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สวนพฤษศาสตร์โรงเรียนกระสังพิทยาคม

ต้นแก้ว


แก้ว (อังกฤษOrange Jessamine, Satin-wood, Cosmetic Bark Tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม
ชื่อพื้นเมืองอื่น: กะมูนิง (มลายู ปัตตานี) แก้วขาว (กลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก (เหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง) และ ตะไหลแก้ว (เหนือ)[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์                                                                       แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด                                การกระจายพันธุ์                                                                                     แก้วมีถิ่นกำเนิดจากเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และออสเตรเลีย มันสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศในทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาได้[2]                                                                             การปลูกเ  ลี้ยง                                                                             สามารถแบ่งเป็น 2 วิธีการปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก                 1.การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป


การดูแลรักษา                                                                    ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง ชอบดินร่วนซุย หรือดินร่วนทราย ต้องการแสงแดดจัด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอน                                                                                วรรณกรรม                                                                                              แก้วปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง นิราศธารทองแดง พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร                                                             กล้วยไม้ห้อยต่ำเตี้ย                                                                                                                                        นมตำเลียเรี่ยทางไป                                                                                                                                     หอมหวังวังเวงใจ                                                                                                                                          ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมเหลียว                                                                                       ความเชื่อ                                                                                               คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิ่งที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรีบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้ว นอกจากนี้คนโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะอาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย                                                                 เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ                                                                              ดอกไม้และต้นไม้ประจำสถาบัน                                                                   ดอกไม้ประจำ จังหวัดสระแก้ว                                                                                  ต้นไม้ประจำ มหาวิทยาลัยศิลปากร                                                                            ต้นไม้ประจำ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร                                                            ต้นไม้ประจำ โรงเรียนทวีธาภิเศก                                                                              ต้นไม้ประจำ โรงเรียนสตรีนนทบุรี                                                                              ต้นไม้ประจำ โรงเรียนสระแก้ว                                                                               ต้นไม้ประจำ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร










อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7_(%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89)
http://www.youtube.com/watch?v=GsXHh54lPXw