ต้นแก้ว
แก้ว (อังกฤษ: Orange Jessamine, Satin-wood, Cosmetic Bark Tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม
ชื่อพื้นเมืองอื่น: กะมูนิง (มลายู ปัตตานี) แก้วขาว (กลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก (เหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง) และ ตะไหลแก้ว (เหนือ)[1]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด การกระจายพันธุ์ แก้วมีถิ่นกำเนิดจากเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และออสเตรเลีย มันสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศในทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาได้[2] การปลูกเ ลี้ยง สามารถแบ่งเป็น 2 วิธีการปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก 1.การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
การดูแลรักษา ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง ชอบดินร่วนซุย หรือดินร่วนทราย ต้องการแสงแดดจัด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอน วรรณกรรม แก้วปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง นิราศธารทองแดง พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร กล้วยไม้ห้อยต่ำเตี้ย นมตำเลียเรี่ยทางไป หอมหวังวังเวงใจ ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมเหลียว ความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิ่งที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรีบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้ว นอกจากนี้คนโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะอาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ ดอกไม้และต้นไม้ประจำสถาบัน ดอกไม้ประจำ จังหวัดสระแก้ว ต้นไม้ประจำ มหาวิทยาลัยศิลปากร ต้นไม้ประจำ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต้นไม้ประจำ โรงเรียนทวีธาภิเศก ต้นไม้ประจำ โรงเรียนสตรีนนทบุรี ต้นไม้ประจำ โรงเรียนสระแก้ว ต้นไม้ประจำ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7_(%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89)
http://www.youtube.com/watch?v=GsXHh54lPXw
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น